FREEDOM FiX CR

post:

Browse »Home » » แอนดรอยด์ (อังกฤษ: android) เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับอุปกรณ์พกพา

แอนดรอยด์ (อังกฤษ: android) เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับอุปกรณ์พกพา

แอนดรอยด์ (อังกฤษ: android) เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับอุปกรณ์พกพา เช่น โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ เน็ตบุ๊ก ทำงานบนลินุกซ์ เคอร์เนล เริ่มพัฒนาโดยบริษัทแอนดรอยด์ (อังกฤษ: Android Inc.) จากนั้นบริษัทแอนดรอยด์ถูกซื้อโดยกูเกิล และนำแอนดรอยด์ไปพัฒนาต่อ ภายหลังถูกพัฒนาในนามของ Open Handset Alliance[2] ทางกูเกิลได้เปิดให้นักพัฒนาสามารถแก้ไขโค้ดต่างๆ ด้วยภาษาจาวา และควบคุมอุปกรณ์ผ่านทางชุด Java libraries ที่กูเกิลพัฒนาขึ้น
แอนดรอยด์ได้เป็นที่รู้จักต่อสาธารณชนเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 โดยทางกูเกิลได้ประกาศก่อตั้ง Open Handset Alliance[3] กลุ่มบริษัทฮาร์ดแวร์, ซอฟต์แวร์ และการสื่อสาร 48 แห่ง ที่ร่วมมือกันเพื่อพัฒนา มาตรฐานเปิด สำหรับอุปกรณ์มือถือ ลิขสิทธิ์ของโค้ดแอนดรอยด์นี้จะใช้ในลักษณะของซอฟต์แวร์เสรี
โทรศัพท์เครื่องแรกที่สามารถใช้งานระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ได้คือ เอชทีซี ดรีม ออกจำหน่ายเมื่อ 22 ตุลาคม 2551[4]
ความสามารถใหม่ของ แอนดรอยด์ 2.3 ที่เพิ่มขึ้นมาคือ Near field communication
รุ่นพัฒนาของแอนดรอยด์จะใช้รหัสชื่อเป็นชื่อขนมหวาน โดยมีตัวอักษรขึ้นต้นเรียงลำดับกัน
รุ่น ชื่อเล่น ลินุกซ์ เคอร์เนล เปิดตัว
1.0 5 พฤศจิกายน 2550
1.1 9 กุมภาพันธ์ 2552
1.5 Cupcake (คัพเค้ก) 2.6.27 30 เมษายน 2552[6]
1.6 Donut (โดนัท) 2.6.29 15 สิงหาคม 2552 (SDK)
2.0/2.1 Eclair (เอแคลร์) 2.6.29 26 ตุลาคม 2552 (2.0) [7]
12 มกราคม 2553 (2.1 SDK) [8]
2.2 Froyo (โฟรซเซนโยเกิร์ต) 2.6.32[9] 20 พฤษภาคม 2553 (SDK)
2.3 Gingerbread (ขนมปังขิง) 2.6.35[10] 6 ธันวาคม 2553 (SDK)
3.0/3.1 Honeycomb (รังผึ้ง) 2.6.36[11] 22 กุมภาพันธ์ 2554 (SDK)
4.0 Ice Cream Sandwich (แซนด์วิชไอศกรีม) [12] 19 ตุลาคม 2554 (SDK)
4.1 Jelly Bean (เจลลีบีน) 28 มิถุนายน 2555
5.0 ปัจจุบัน
เล็กๆน้อยๆกับ GOOGLE PLAY
กูเกิ้ลเพลย์ (Google Play) เป็นร้านซอฟต์แวร์ออนไลน์ของระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ที่พัฒนาโดยกูเกิล โดยผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงกูเกิ้ลเพลย์ได้ผ่านซอฟต์แวร์ที่ชื่อว่า "Play Store" ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่ติดตั้งมาพร้อมกับระบบปฏิบัติการ โดยในกูเกิ้ลเพลย์จะแบ่งเป็นสองส่วนหลักคือ แอพ (Apps) และ เกม (Games)
แอพที่อยู่ในมาร์เก็ตจะมีทั้งแอพที่แจกให้ดาวน์โหลดฟรี และแอพที่จำเป็นต้องเสียเงินซื้อ โดยการซื้อขายนั้นผู้ขายจะได้รายได้ 70% จากราคาเต็ม
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More

แสดงความคิดเห็น

 
Kerangka Template by creating website » Template modify by panjz online